เมนู

389. อรรถกถาโสณโกฏิวิสเถราปทาน


พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระโสณโกฏิวิสเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิโน
ปาวจเน
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้มากมาย
ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ท่าน
(รูปนี้) ได้เกิดในตระกูลเศรษฐีมีสมบัติมากมาย พอเจริญวัยแล้ว ก็ได้
เป็นเศรษฐี (วันหนึ่ง) พร้อมกับพวกอุบาสกได้ไปพระวิหาร ฟังพระ-
ธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ช่วยกันฉาบทาปูนขาว
ในที่จงกรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า และช่วยกันสร้างที่เร้น (ที่สงบ)
แห่งหนึ่ง ได้ลาดพื้นที่เร้นด้วยผ้ามีสีต่าง ๆ และทำเพดานไว้ข้างบน มอบ
ถวายแด่พระสงฆ์ที่มาแต่ทิศทั้ง 4 ได้ถวายมหาทานตลอด 7 วัน (และ)
ได้กระทำการตั้งปณิธานไว้. พระศาสดาได้ทรงกระทำอนุโมทนา. ด้วย
กุศลกรรมอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้
เสวยสมบัติในโลกทั้ง 2 ในกัปนี้ เมื่อพระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรายังไม่ทรงอุบัติ ท่านได้บังเกิดในเรือน
แห่งตระกูล ในกรุงพาราณสี พอได้เจริญวัยแล้ว ได้สร้างบรรณศาลา
ไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ได้บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งซึ่งอยู่ประจำ
ด้วยปัจจัย 4 ตลอด 3 เดือนโดยความเคารพ. พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น
พอออกพรรษาแล้ว มีบริขารครบบริบูรณ์ ได้ไปยังภูเขาคันธมาทน์นั่นแล.

กุลบุตรคนนั้น ได้ทำบุญไว้เป็นอันมากในมนุษยโลกนั้นจนตลอดชีวิต
จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก พอถึง
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เขาได้ถือปฏิสนธิในเรือนของ
อัครเศรษฐีในนครจัมปา. ตั้งแต่เวลาที่เขาถือปฏิสนธิมา กองแห่งโภค-
สมบัติเป็นอันมาก ก็เจริญขึ้นแก่ท่านเศรษฐี. ในวันที่เขาคลอดออกจาก
ท้องของมารดา ลาภสักการะและสัมมานะเป็นอันมาก ก็ได้บังเกิดมีทั่ว
พระนคร. (ด้วยผลบุญ) ที่ได้บริจาคผ้ากัมพลสีแดงมีค่าตั้งแสนแด่พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งก่อน เขาจึงได้มีวรรณดุจทองคำ และมีอัตภาพ
สุขุมละเอียดอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น พวกญาติจึงตั้งชื่อเขาว่า โสณะ. เขา
เจริญวัยแล้ว มีบริวารมากมาย. ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าของเขาได้มีเป็นรูป
ดอกหงอนไก่, ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าของเขาทุกข้าง ได้มีสัมผัสอันอ่อนนิ่ม
นวลคล้ายกับปุยฝ้ายที่ปั่นแล้วตั้งร้อยครั้ง. เฉพาะที่ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง ได้
เกิดมีโลมชาติเป็นรูปวงกลมคล้ายกับต่างหูแก้วมณี. พวกญาติได้สร้าง
ปราสาท 3 หลังอันเหมาะสมกับฤดูทั้ง ฤดูให้แก่เขาผู้เจริญวัยแล้ว และ
ได้มีพวกหญิงนักฟ้อนพากันบำรุงบำเรอ เขาได้เสวยสมบัติอันใหญ่หลวง
ในปราสาทหลังนั้น ๆ อยู่อย่างเทพกุมาร.
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ได้บรรลุพระสัพพัญญุต-
ญาณแล้ว ประทับอยู่อาศัยในพระนครราชคฤห์ แสดงพระธรรมจักร
อันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว พระเจ้าพิมพิสารมีพระบรมราชโองการให้
บุรุษไปเรียกตัวเขามา เขามายังพระนครราชคฤห์ พร้อมกับพวกชาวบ้าน
80,000 คน แล้วไปยังสำนักของพระศาสดา ได้ฟังธรรมแล้ว ได้มี

ศรัทธา ขออนุญาตมารดาบิดาแล้วบรรพชาในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พอได้อุปสมบทแล้วเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว
ได้อยู่ที่สีตวัน เพื่อหลีกจากการคลุกคลีด้วยหมู่ชน, ขณะที่พระโสณะอยู่
ในที่นั้นได้มีจินตนาการว่า สรีระของเราละเอียดสุขุม ด้วยความสุข
ทางกายอย่างเดียวเท่านั้น เราจึงไม่สามารถจะบรรลุความสุขใจที่แท้จริง
ได้, เอาละแม้เราจะลำบากกาย ก็ควรที่จะบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้แล้ว
จึงอธิษฐานที่จงกรม เริ่มประกอบความเพียร เมื่อฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง บวม
จนพองขึ้นก็ตาม ก็ไม่คำนึงถึงทุกขเวทนา กระทำความเพียรอย่างแรง
กล้า แต่ก็ไม่สามารถจะทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นได้ คงเป็นเพราะ
ปรารภความเพียรหนักไป จึงคิดว่า เราพยายามถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่
สามารถจะทำมรรคและผลให้บังเกิดขึ้นได้, เราจะบวชอยู่ทำไม สึกไป
เสวยสมบัติดีกว่า และเราจักทำบุญให้มาก ดังนี้. ลำดับนั้น พระศาสดา
ได้ทรงทราบวาระจิตของเขา จึงเสด็จไปยังที่นั้น ทรงประทานพระโอวาท
อุปมาด้วยสายพิณ เมื่อจะทรงแสดงถึงวิธีประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ
ยังกัมมัฏฐานให้หมดจดแล้ว จึงเสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ. แม้พระ-
โสณะแล ได้รับพระโอวาทจากสำนักของพระศาสดาแล้ว ประกอบ
ความเพียรให้สม่ำเสมอ พยายามเจริญวิปัสสนา ก็ได้ดำรงอยู่ในพระ-
อรหัต.
พระโสณะนั้น เป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน
ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ
มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิโน ปาวจเน ดังนี้. คำว่า
วิปัสสี ในคำนั้นหมายความว่า เห็นโดยพิเศษ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

วิปัสสี เพราะเห็นได้หลายอย่าง. บทว่า ปาวจเน ได้แก่ชื่อว่า ปาพจน์
คือ พระไตรปิฎก เพราะท่านเรียกโดยประการอย่างหนึ่ง, อธิบายว่า
ในปาพจน์ของพระวิปัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า เลณํ ความว่า
ชื่อว่า เลณะ คือวิหาร เพราะเป็นที่เร้น อันปลอดภัย (สงบ). บทว่า
พนฺธุมาราชธานิยา แยกวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า พันธุ คือ หมู่ญาติ เพราะ
เกี่ยวพัน คือผูกพันซึ่งกันและกันมา ด้วยอำนาจการสืบต่อจากตระกูล.
ชื่อว่า พันธุมา เพราะย่อมอยู่ประจำในที่นั่น, อีกความหมายหนึ่ง ชื่อว่า
พันธุมา เพราะเขามีความเกี่ยวข้องกัน. ชื่อว่า ราชธานี เพราะเป็นที่
ประทับอยู่ของพระราชาทั้งหลาย, พันธุมา ศัพท์ และ ราชธานี ศัพท์นั้น
รวมกันเป็นพันธุมาราชธานี เชื่อมความว่า เราได้สร้างที่เร้น (วิหาร)
ที่ราชธานีของพระเจ้าพันธุมานั้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโสณโกฏิวิสเถราปทาน

1

พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ 10 (390)


ว่าด้วยบุพจริยาของพระพุทธองค์


[392] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ประทับนั่งอยู่ที่พื้นหินอันเป็นรัมณีย-
สถาน โชติช่วงด้วยแก้วต่าง ๆ ในละแวดป่าอันมีกลิ่นหอม
ต่าง ๆ ใกล้สระอโนดาต ตรัสชี้แจงบุรพกรรมทั้งหลายของ
พระองค์ ณ ที่นั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงกรรมที่เราทำแล้ว
ของเรา เราเห็นภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้วได้
ถวายผ้าเก่า.

เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลแห่งกรรม คือการถวายผ้าเก่า
ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า.

ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็น
แม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน.

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะ
กระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา.

ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าว
ตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ.

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลา
นาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก.

1. อรรถกถาว่า ปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน.